ชาวโปรตุเกสในปัจจุบันนั้นมีอยู่ที่บ้านวัดคอนเซ็ปชัญ ซึ่งสืบเชื้อสายจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเหล่านี้ส่วนใหญ่รับราชการเป็นทหาร ออกรบหลายครั้งจนได้รับความดีความชอบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัด และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวโปรตุเกสกลุ่มหนึ่งราว 60-70 ครอบครัว จึงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลสวนพลู (ปัจจุบันคือโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และสุสาน) สังฆราชหลุยส์ลาโน ได้รวบรวมครอบครัวคริสตัง สร้างวัดพระแม่ปฏิสนธินิรมล (วัดน้อย) ขึ้นราว พ.ศ. 2217 ซึ่งเป็นโบสถ์เครื่องไม้ ต่อมาได้ทรุดโทรม พระสังฆราชปาเลอกัวซ์จึงได้สร้างวัดคอนเซ็ปชัญราว พ.ศ. 2379 สง่างามด้วยสถาปัตยกรรมยุโรปเคียงข้างวัดน้อย
เรื่องราวของหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญปรากฏอีกครั้งใน พ.ศ. 2325 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในชาวเขมรเข้ารีตที่หนีภัยจากการจลาจลราว 400-500 คน ให้มาอยู่รวมกับชาวโปรตุเกส ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าชาวเขมรนับถือศาสนาคริสต์เหมือนกับชาวโปรตุเกส ตั้งแต่นั้นบ้านโปรตุเกสจึงถูกเรียกว่า บ้านเขมร วัดคอนเซ็ปชัญ ก็ถูกเรียกว่าวัดเขมร แต่นั้นมา และอยู่อาศัยปะปนรวมกับชาวเขมร รวมถึงบ้านญวนสามเสนที่อยู่ใกล้ๆกันนั้นเอง
จากประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าตากสินสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว คุณพ่อกอร์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและพาพวกเข้ารีตหลบหนีไปอยู่เขมรเมื่อกรุงแตก ได้กลับมาพร้อมพวกเข้ารีตและได้พบหมู่คริสตังจำนวนไม่น้อยอาศัยอยู่รวมกันใกล้ป้อมที่บางกอก จึงได้ขอพระราชทานที่ดินบริเวณนี้จากพระเจ้ากรุงธนบุรีเพื่อสร้างโบสถ์ ตั้งชื่อว่า “ซางตาครู้ส” (Santa Cruz) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกเก่าแก่อันดับ 2 รองจากวัดคอนเซ็ปชัญ ที่สามเสนฝั่งตะวันออก ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พวกโปรตุเกสนอกจากจะตั้งถิ่นฐานในชุมชนกุฎีจีนแล้ว ยังมีที่วัดกาลหว่าร์ บริเวณตลาดน้อย ซึ่งเป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกหลังที่ 3 ในบางกอก อันถือมาจากความขัดแย้งในหมู่ชาวโปรตุเกสที่วัดซางตาครู้ส ซึ่งบางส่วนไม่ยอมรับการปกรองของบาทหลวงชาวฝรั่งเศส จึงแยกมาตั้งวัดเป็นของตนเอง ทว่าภายหลังชาวโปรตุเกสที่วัดกาลหว่าร์น้อยลงกว่าชาวคริสตังเชื้อสายจีนที่อพยพมาอาศัยมากขึ้น
ภาษา
ฝรั่งโปรตุเกสกุฎีจีนพวกนี้ได้แต่งงานผสมผสานกับคนไทย มีลูกหลานสืบเชื้อสายจนถึงปัจจุบัน เช่นตระกูลทรรทรานนท์ จันทรัคคะ ดากรู้ด สิงหทัต จาค๊อป สงวนยวง เดฮอตา สงวนแก้ว ทองหล่อ วงศ์เงินยวง มรดกที่ตกทอดจากตระกูลวงศ์แล้ว เรื่องภาษาคนเฒ่าคนแก่ข้างโบสถ์ซางตาครู้ส ยังพอจำได้ว่าแต่ก่อนเขาเคยใช้คำว่า “อาโว” เป็นสรรพนามเรียกแม่เฒ่า และ “จง” เป็นสรรพนามเรียกพ่อเฒ่า ส่วนในบ้านโบสถ์คอนเซ็ปชัญยังมีตระกูล ดาครุส โรดิเกส ลิเบโรย และใช้ภาษาโปรตุเกสบ้างอย่างคำว่า“ป๋าย” แปลว่าพ่อ ติว แปลว่า อาผู้ชาย เต แปลว่า อาผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีอาหารการกินที่เป็นเอกลักษณ์ และในอดีตเคยใช้ชาวโปรตุเกสจากที่ชุมชนกุฎีจีนติดต่อค้าขายกับต่างประเทศด้วยจนเรียกว่าชาวโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีนเป็นฝ่ายบุ๋น และฝ่ายบ้านคอนเซ็ปชัญเป็นฝ่ายบู๊[2] เนื่องจากสืบเชื้อสายของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี ต้นตระกูลวงศ์ภักดี และวิเศษรัตน์ ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสทั้งสองกลุ่มจะมีความแตกต่างกันบ้าง อย่างที่ชุมชนคอนเซ็ปชัญจะอยู่ปะปนกันทั้งชาวโปรตุเกส เขมร และญวน ส่วนที่กุฎีจีนชาวโปรตุเกสจะปะปนอยู่กันชาวจีน และญวน
ฝรั่งโปรตุเกสกุฎีจีนพวกนี้ได้แต่งงานผสมผสานกับคนไทย มีลูกหลานสืบเชื้อสายจนถึงปัจจุบัน เช่นตระกูลทรรทรานนท์ จันทรัคคะ ดากรู้ด สิงหทัต จาค๊อป สงวนยวง เดฮอตา สงวนแก้ว ทองหล่อ วงศ์เงินยวง มรดกที่ตกทอดจากตระกูลวงศ์แล้ว เรื่องภาษาคนเฒ่าคนแก่ข้างโบสถ์ซางตาครู้ส ยังพอจำได้ว่าแต่ก่อนเขาเคยใช้คำว่า “อาโว” เป็นสรรพนามเรียกแม่เฒ่า และ “จง” เป็นสรรพนามเรียกพ่อเฒ่า ส่วนในบ้านโบสถ์คอนเซ็ปชัญยังมีตระกูล ดาครุส โรดิเกส ลิเบโรย และใช้ภาษาโปรตุเกสบ้างอย่างคำว่า“ป๋าย” แปลว่าพ่อ ติว แปลว่า อาผู้ชาย เต แปลว่า อาผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีอาหารการกินที่เป็นเอกลักษณ์ และในอดีตเคยใช้ชาวโปรตุเกสจากที่ชุมชนกุฎีจีนติดต่อค้าขายกับต่างประเทศด้วยจนเรียกว่าชาวโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีนเป็นฝ่ายบุ๋น และฝ่ายบ้านคอนเซ็ปชัญเป็นฝ่ายบู๊[2] เนื่องจากสืบเชื้อสายของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี ต้นตระกูลวงศ์ภักดี และวิเศษรัตน์ ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสทั้งสองกลุ่มจะมีความแตกต่างกันบ้าง อย่างที่ชุมชนคอนเซ็ปชัญจะอยู่ปะปนกันทั้งชาวโปรตุเกส เขมร และญวน ส่วนที่กุฎีจีนชาวโปรตุเกสจะปะปนอยู่กันชาวจีน และญวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น